Saturday, November 24, 2012

หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตหรือGMP (Good Manufacturing Practice)

GMP (Good Manufacturing Practice)
หรือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต
ความหมายของ GMP
GMP (Good Manufacturing Practice) หรือ หลักเกณฑ์
วิธีการที่ดีในการผลิต หมายถึง ระบบคุณภาพที่สร้างกระบวนการ
จัดการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหารของโรงงานอุตสาหกรรม
ไม่ว่าจะเป็นวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บ
รักษา
สัญลักษณ์ GMP
สาระสำคัญของ GMP (Good Manufacturing Practice)
ในการดำเนินการเพื่อนำระบบ GMP หรือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีใน
การผลิตไปปรับใช้ในการผลิตอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น ต้องคำนึง
หรือเตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต เช่น เรื่องของตัวอาคาร
บริเวณหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงต้องสะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะและ
สกปรก เป็นต้น
2. เครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิต ต้องไม่ทำจาก
วัสดุที่มีปฏิกิริยากับอาหารและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ไม่เกิด
สนิม ทำความสะอาดง่าย เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3. การควบคุมกระบวนการผลิต เป็นการดำเนินการทุกขั้นตอน
ต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดีตั้งแต่การรับวัตถุดิบ ชนิด
และปริมาณการวัตถุดิบและสารเคมีที่ใช้ในการผลิต และผลิตภัณฑ์
สำเร็จรูปที่ผลิตได้ ซึ่งจะต้องประทับตรา
4. การสุขาภิบาล เช่น เรื่องของน้ำใช้ในโรงงาน ห้องน้ำ
อ่างล้างมือ ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย มีทางระบายน้ำทิ้ง เป็นต้น
5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด เช่น มีการรักษา
ความสะอาด บำรุง ซ่อมแซมสถานที่ตัวอาคาร เครื่องมือ
เครื่องจักร อุปกรณ์ เป็นประจำและการใช้สารเคมีทำความสะอาด
ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ปลอดภัยต่อการผลิตอาหาร เป็นต้น
6. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้ปฏิบัติงาน
ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคน่ารังเกียจ ตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
หรือมีบาดแผลอันอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ มีการ
สวมเสื้อผ้า เสื้อคลุมที่สะอาด ล้างมือก่อนปฏิบัติงาน ใส่ถุงมือ
ไม่สวมเครื่องประดับ สวมหมวกหรือผ้าคลุมผม มีการฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขลักษณะทั่วไป และความรู้ทั่วไป
ในการผลิตอาหาร เป็นต้น
ประโยชน์ของการทำ GMP
1. ได้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้เป็นที่
เชื่อถือของคู่ค้า และผู้บริโภค
2. สร้างความสะดวกปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในขณะ
ปฏิบัติงาน
3. มีการควบคุม และรักษามาตรฐานความสะอาด และถูก
สุขลักษณะของโรงงาน
4. มีความสะดวก และง่ายต่อการติดตามข้อมูล
5. ความคล่องตัวในการดูแล การจัดการ และการประเมิน
งานในโรงงาน
6. ลดของเสียอันเนื่องมาจากการผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
ซึ่งจะมีผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตให้กับหน่วยงาน
7. สร้างทัศนคติที่ดี และถูกต้องแก่ผู้ปฏิบัติงาน

ที่มา:การผลิต - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม


 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls